Jim Thompson Art Center

EN TH
string(2) "en"
The Shattered Worlds: Micro Narratives from the Ho Chi Minh Trail to the Great Steppe cover
The Shattered Worlds: Micro Narratives from the Ho Chi Minh Trail to the Great Steppe cover title

Exhibitions / Gallery 1 & 2, 3rd Floor

EN TH

The Shattered Worlds: Micro Narratives from the Ho Chi Minh Trail to the Great Steppe

หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ร่วมกับ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดนิทรรศการนานาชาติ โลกร้าว: เรื่องเล่าขนาดย่อมจากเส้นทางโฮจิมินส์ถึงทุ่งหญ้าสเต็ปป์ เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปีของมูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน ซึ่งตั้งชื่อตาม จิม ทอมป์สัน สถาปนิกชาวอเมริกัน ผู้เคยทำงานร่วมกับกองทัพสหรัฐฯ ในประเทศไทยช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังปลดประจำการ เขาตั้งรกรากในกรุงเทพฯ และอุทิศตนให้กับการฟื้นฟูอุตสาหกรรมผ้าไหมไทย ทิ้งไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมสำคัญที่ยังคงดำรงอยู่ผ่านพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน

นิทรรศการนำเสนอผลงานของศิลปินเชิงวิจัย 13 คนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยูเรเชีย โดยมุ่งสำรวจร่องรอยและผลกระทบของสงครามเย็น รวมถึงวิธีที่ศิลปินแต่ละคนตีความและนำเสนอเรื่องเล่าเชิงจุลภาค ซึ่งสะท้อนความซับซ้อนของบริบทท้องถิ่นในความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ และเผยให้เห็นว่าเรื่องราวเหล่านี้ยังคงส่งอิทธิพลต่อสังคมร่วมสมัยอย่างไร นิทรรศการแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ซึ่งสะท้อนประเด็นสำคัญของสงครามเย็น ได้แก่ สงครามจิตวิทยา การทูตเชิงวัฒนธรรม และการแข่งขันด้านอาวุธนิวเคลียร์และอวกาศ โดยจะจัดแสดงใน 4 สถานที่ ตั้งแต่บริเวณแยกปทุมวันจนถึงซอยเกษมสันต์ 2

เพื่อขยายบริบทให้กับผู้ชมทั้งในประเทศและต่างประเทศในการทำความเข้าใจถึงผลกระทบของสงครามเย็นที่มีต่อสถานการณ์สังคมและการเมืองในปัจจุบัน นิทรรศการนี้ยังมาพร้อมกับกิจกรรมสาธารณะหลากหลายตลอดช่วงการจัดแสดง อาทิ การประชุม เสวนาศิลปินและภัณฑารักษ์ โปรแกรมฉายภาพยนตร์ และการเดินสำรวจพื้นที่ เป็นต้น

กฤติยา กาวีวงศ์

ภัณฑารักษ์

กฤติยา กาวีวงศ์ (เกิดปีพ.ศ. 2507 จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการประจำ Jim Thompson Art Center (JTAC) ในกรุงเทพมหานคร กฤติยาได้รับการยอมรับในฐานะหนึ่งในภัณฑารักษ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในอุษาคเนย์ ได้รับเลือกเป็นภัณฑารักษ์ร่วมกับ ฤกษ์ฤทธิ์ ตรีวะนิช ในโครงการการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale 2023/2024 ในจังหวัดเชียงราย กฤติยา กาวีวงศ์ จบการศึกษาปริญญาโทด้านการจัดการบริหารศิลปะ จากคณะบริหารจัดการศิลปะและนโยบายในปีพ.ศ. 2539 จากสถาบันศิลปะชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ร่วมก่อตั้งองค์กรศิลปะร่วมสมัยที่มีชื่อว่า Project 304 ร่วมกับกลุ่มศิลปิน อาทิ มณเฑียร บุญมา, กมล เผ่าสวัสดิ์, และอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ในช่วงปีพ.ศ. 2539 - 2546 นอกจากบทบาทผู้อำนวยการศิลป์ประจำ JTAC กฤติยายังเป็นภัณฑารักษ์รับเชิญให้กับพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม จังหวัดเชียงใหม่ และได้ร่วมก่อตั้งเทศกาลหนังทดลองกรุงเทพฯ (Bangkok Experimental Film Festival) ร่วมกับอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2540 - 2550 ผลงานนิทรรศการที่กฤติยาได้ทำการคัดสรร เปล่งเสียงถึงประเด็นความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ศิลปินประสบและพบเจอ ทั้งในประเทศไทยและวงกว้างนับตั้งแต่สมัยสงครามเย็น อาทิ Imagined Borders, the 12th Gwangju Biennale (2561); Missing Links, Bangkok (2558); Between Utopia and Dystopia, Mexico City (2554); Internationale Kurzfilmtage Oberhausen, Oberhausen (2552); Politics of Fun, Berlin (2548); และ Underconstruction Tokyo (2543 - 2545) และยังเป็นภัณฑารักษ์ให้กับนิทรรศการสัญจรที่ชื่อว่า The Serenity in Madness (2559 - 2563) ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ที่ทำการจัดแสดงหลากหลายเมืองในเชียงใหม่ มะนิลา ฮ่องกง ชิคาโก โอคลาโฮมา และไทเป

รินรดา ณ เชียงใหม่

ภัณฑารักษ์ร่วม

รินรดา ณ เชียงใหม่ (เกิดปีพ.ศ. 2537 กรุงเทพฯ ประเทศไทย)

รินรดา ณ เชียงใหม่ เป็นผู้ช่วยภัณฑารักษ์ประจำหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน นอกจากนี้ยังเป็นเป็นภัณฑารักษ์อิสระ และเป็นแรงงานศิลปะในโครงการต่างๆ ความสนใจของรินรดาสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านทั้งผลงานคัดสรรและสร้างสรรค์ เน้นย้ำในการสร้างความเชื่อมโยงใหม่ของเรื่องเล่าซ่อนเร้นในบางจำเพาะสถานที่ รินรดาผนวกรากของเรื่องในบริบทสถานที่นั้นๆ เข้าด้วยกันผ่านศิลปะแบบร่วมสมัย ประเด็นที่รินรดาสนใจประกอบด้วย ประวัติศาสตร์ร่วม ความทรงจำของมวลชนในสังคมที่มีร่วมกันในสังคม และความสัมพันธ์ระหว่าง ‘พื้นที่’ และ ‘สถานที่’ รินรดาจบการศึกษาระดับปริญญาโท ในปีพ.ศ. 2562 สาขาภัณฑารักษ์ จากสถาบันโกลดิ์สมิทธิ์ มหาวิทยาลัยลอนดอน สั่งสมประสบการณ์ในฐานะผู้จัดการโครงการประจำหอศิลปกรุงเทพฯ เป็นระยะเวลา 3 ปี ก่อนจะมาเป็นผู้ช่วยภัณฑารักษ์ประจำ Jim Thompson Art Center จวบจนปัจจุบัน รินรดาเป็นสมาชิกประจำ YOONGLAI Collective ที่มีอุดมการณ์ในการผสมผสานนำศิลปะมาผนวกเข้ากับในชีวิตประจำวัน เชื่อมโยงการศึกษาวิจัย Community Base จัดแสดงนิทรรศการ งานเขียน และจัดกิจกรรมทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์อื่นๆ

รินรดาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการศึกษาวิจัยและค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมประกอบโครงการทั้งใน Canopy Project (2564 - 2565) และ This Useful Time Machine (2564 - ปัจจุบัน) ผลงานการคัดสรรในฐานะภัณฑารักษ์ของรินรดา ประกอบด้วย "Silent Wind, Invisible Waves" จัดแสดง ณ WTF Gallery and Café, กรุงเทพฯ (2565); "By The Time We Are Gone" ที่ทำการจัดแสดง ณ Safehouse 1, Peckham, London (2562); "How Come You Never Go There" จัดแสดงที่ 310 NXRD กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ (2561); "Rewind/Fast Forward: Tapes from Freud Museum" (2561) จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ Freud Museum ในกรุงลอนดอน โดยผลงานในฐานะผู้ช่วยภัณฑารักษ์ ณ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ประกอบด้วย "The Disoriented Garden… A Breath of Dream" (2567) ของศิลปิน Truong Cong Tung ภัณฑารักษ์โดย Duong Manh Hung, "Nomadic" (2567)
คัดสรรโดย Dr. Vennes Cheng และ "A HOPE AND PEACE TO END ALL HOPE AND PEACE” (2566) ที่มี Zoe Butt เป็นภัณฑารักษ์ รวมถึงงาน "How Many Worlds Are We?" คัดสรรโดย Alexandre Melo (2566)

ชนพล จันทร์หอม

ภัณฑารักษ์ร่วม

ชนพล จันทร์หอม (เกิดปีพ.ศ. 2544 กรุงเทพฯ ประเทศไทย) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปีพ.ศ. 2566 เป็นภัณฑารักษ์ฝึกหัดประจำ Jim Thompson Art Center และหอศิลป์แห่งชาติ ชนพลมีความสนใจในศิลปะทางแถบเอเชียตะวันออก ทั้งจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และศิลปะไทย โดยเฉพาะงานศิลปะที่นำเสนอในเชิงภูมิทัศน์ ชีวิตประจำวัน ประวัติศาสตร์ และความสัมพันธ์ระหว่างคนกับพื้นที่ ในปัจจุบัน ชนพลเป็นผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ ประจำ Jim Thompson Art Center ทำหน้าที่หลักในการค้นคว้า และช่วยเหลือในด้านจัดการและประสานงาน ในการจัด
แสดงผลงานศิลปะหลากหลายนิทรรศการ อาทิ 'Lam Loke (The World of Molam)' ณ จิมทอมป์สันฟาร์ม (2566 - ปัจจุบัน) และนิทรรศการ 'Fragmented Reality: Selected Artworks’ จาก the DC Collection (2567) เป็นต้น

อัลมากุล เมนลิบาเยวา

คาซัคสถาน/เยอรมนี

ศิลปิน

อัลมากุล เมนลิยาเบวา เป็นศิลปินร่วมสมัยที่กวาดรางวัลมาแล้วในหลากหลายสถาบัน เชี่ยวชาญด้านการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบวิดิโอหลายช่องทาง (Multi-Channel Video), ภาพถ่าย และศิลปะจัดวางผสมผสาน (Mixed Media Installation) โดย ณ ปัจจุบันประเทศเยอรมนีและประเทศคาซัคสถาน คือสถานที่ ที่เธอเรียกว่าบ้านเเละสถานที่ทำงานหลัก ผลงานของอัลมากุลได้รับการจัดแสดงในหลากหลายเทศกาลศิลปะระดับโลก อาทิ เทศกาล Sydney Biennale ในประเทศออสเตรเลีย, เทศกาล Venice Biennale ในประเทศอิตาลี, เทศกาล Moscow Biennale ในประเทศรัสเซีย และเทศกาล Gangwon International Biennale ที่ทำการจัดขึ้นในประเทศเกาหลีใต้
หนึ่งในผลงานนิทรรศการเดี่ยวล่าสุดของอัลมากุล ประกอบด้วย นิทรรศการ Green, Yellow, Red, and Green again ที่จัดขึ้น ณ TSE Gallery เมืองอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน (2561), นิทรรศการ Transformation จัดขึ้นณ Grand Palais ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (2559-2560), นิทรรศการ My Silk Road to You ณ Lexing Art ในเมืองไมอามี ประเทศสหรัฐอเมริกา (2559), นิทรรศการ Union of the Fire and Water ในเทศกาล Venice Biennial ครั้งที่ 56 ณ เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี (2558), นิทรรศการ Transoxiana Dreams ที่จัดฉายในโซนวิดิโอ ของพิพิธภัณฑ์ Ludwig Forum ในเมืองอาเคน ประเทศเยอรมนี (2557), นิทรรศการ Empire of the Memory จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ Ethnographic Museum ในวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ (2556), นิทรรศการ An Odd for the Wastelands and Gulags ณ Kunstraum Innsbruck ในประเทศออสเตรีย (2556) และนิทรรศการ EXPO 1: Exploration of Ecological Challenges พิพิธภัณฑ์ MoMA PS1 สาขาใหม่ของ MoMA ในควีนส์ เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ผลงานในส่วนของศิลปะจัดวางและภาพถ่ายของอัลมากุล ยังเคยจัดแสดงที่หลากหลายพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ทั่วโลก อาทิ พิพิธภัณฑ์ Museum van Hedendaagse Kunst (M HKA) ในเมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม, พิพิธภัณฑ์ Queens Museum ในนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา, พิพิธภัณฑ์ Herbert F. Johnson Museum ในอีทากา นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา, พิพิธภัณฑ์ Stenersen Museum ในกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์, พิพิธภัณฑ์ ZKM Museum of Contemporary Art ในคาร์ลสรูเออ ประเทศเยอรมนี, มหาวิทยาลัย University of California ในซานดิอาโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา, พิพิธภัณฑ์ Center of Contemporary Art, Zamok Ujazdowskie ในวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ , พิพิธภัณฑ์ Museum of Contemporary Art Kiasma ในกรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์, พิพิธภัณฑ์ Museo Universitario del Chopo ในกรุงเม็กซิโก ซิตี ประเทศเม็กซิโก, พิพิธภัณฑ์ Kulturzentrum bei den Minoriten ในเมืองกราซ ประเทศออสเตรีย และพิพิธภัณฑ์ Queensland Art Gallery ในเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย
โดยผลงานของอัลมากุล ดำดิ่งไปถึงสาระหลากหลายประเด็น เช่น ความเป็นโซเวียตในยุคสมัยใหม่, การแปรเปลี่ยนทางด้านสังคมและการเมืองของประเทศแถบเอเชียที่เคยเป็นสมาชิกของสหภาพโซเวียต, การปลดแอกการตีความในประเด็นเพศ, การเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อม, วัฒนธรรมชนเผ่าเร่ร่อนในยุโรป-เอเชีย และแนวคิดจักรวาลวิทยาและตำนานปรัมปราของชนเผ่าพื้นเมือง อัลมากุล เมนลิบาเยวา คว้ารางวัล Main Prize ในเทศกาลหนัง Munich’s Kino der Kunst International Film Festival ในปีพ.ศ. 2556 โดยกระทรวงวัฒนธรรมฝรั่งเศสได้มอบเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นอัศวินสาขาศิลปศาสตร์และอักษรศาสตร์( Chevalier de l’Ordre des Arts et des Lettres) แก่อัลมากุล เมนลิบาเยวาในปีพ.ศ. 2560

อู ซาว ยี

มาเลเซีย/ไต้หวัน

ศิลปิน

อู ซ่าว ยี เป็นศิลปินชาวมาเลเซีย ที่ได้รับรางวัลชมเชย Honorable Mentions จาก Taipei Art Awards ในปีพ.ศ. 2564 และได้ สร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นจนเข้ารอบสุดท้ายในการประกวดงานศิลปะ Asia Pacific Breweries Signature Art Prize ในปี พ.ศ.2561 ผลงานของ อู ซ่าว ยี นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่าง รูปภาพ เทคนิคทางการดีไซน์รูปแบบ Image-Making ในการใช้ภาพสื่อความหมาย ประวัติศาสตร์ การเมืองและอำนาจ ผ่านผลงานในรูปแบบวิดิโอจัดวางและอื่นๆ ผลงานของ Sow Yee เคยได้รับการจัดแสดงในงานเทศกาลศิลปะและพิพิธภัณฑ์ทั่วโลก ทั้งในรูปแบบนิทรรศการและการฉายหนัง อาทิ เทศกาล Sharjah Biennale ในปี พ.ศ.2566 เทศกาล Busan Biennale ในปี พ.ศ.2565 พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยแห่งชาติ MMCA ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ พิพิธภัณฑ์ Mori Art Museum ในเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พิพิธภัณฑ์ HKW ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน พิพิธภัณฑ์ Shanghai Rockbund Art Museum เข้าร่วมเทศกาล Singapore Film Festival และยังเคยทำการจัดแสดงผลงาน ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพ อู ซ่าว ยี เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Rumah Attap Library and Collective ที่บ้านเกิดในเมืองกัวลาลัมเปอร์ในปี พ.ศ.2560

จุฬญาณนนท์ ศิริผล

ไทย

ศิลปิน

จุฬญาณนนท์ ศิริผลคือผู้กำกับและศิลปินชาวไทย ภาพเคลื่อนไหวและร่างกายเป็นสื่อกลางหลักที่ศิลปินใช้ในการสื่อสารผลงาน ความหลากหลายคือนิยามในการจำแนกผลงานของจุฬญาณนนท์ เห็นจากประเภทของผลงานที่ไม่จำเพาะเจาะจง อันได้แก่ ภาพยนตร์สั้น ภาพยนตร์เชิงทดลอง สารคดี วิดิโอบันทึกการเเสดง (Performance Video) และ Video Installations ผลงานของจุฬญาณนนท์เป็นส่วนผสมของการดัดแปลงเรื่องเล่าปรัมปราและตำนานพื้นบ้านเข้ากับนิยายวิทยาศาสตร์หรือ Science Fiction เป็นการแปลงข้อมูลทางกายภาพเชิงแอนะล็อกที่ศิลปินทำการค้นคว้าเข้ากับจิตวิญญาณดิจิทัล จุฬญานนท์สงสัยและตั้งคำถามถึงปัญหาสังคมในปัจจุบันและอุดมการณ์ทางการเมืองผ่านผลงาน ได้อย่างมีอารมณ์ขันในเชิงเสียดสี

ผลงานภาพยนตร์สั้น Vanishing Horizon of the Sea ของจุฬญาณนนท์คว้ารางวัล Special Mention จากเทศกาล Singapore International Film Festival ในปีพ.ศ.2557 ทำการจัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวร่วมกับหลากหลายหอศิลป์อาทิ นิทรรศการเดี่ยวชุด Behind the Painting เลือกสรรโดย Hiroyuki Hattori ของจุฬญาณนนท์ได้รับการจัดแสดง ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปีพ.ศ.2558 นิทรรศการ Museum of Kirati ทำการจัดแสดงที่บางกอก ซิตี้ซิตี้ แกลเลอรี (Bangkok CityCity Gallery) ซึ่งเป็นสถานที่จัดแสดงของนิทรรศการ Give Us A Little More Time ในปีพ.ศ.2563 เช่นกัน จุฬญาณนนท์ยังมีบทบาทในหลายการจัดแสดงร่วมกับกลุ่มศิลปินอื่นในหลากหลายเทศกาลศิลปะทั่วโลก อาทิ เทศกาล Fukuoka Asian Art Triennale ครั้งที่ 5 ที่จัดขึ้นที่เมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่นในปีพ.ศ.2557 เทศกาล Contemporary Art Festival Sesc Videobrasil ครั้งที่ 19 ณ เซาเปาโล ประเทศบราซิลในปีพ.ศ 2560 ซีรีส์การแสดงศิลปะวิดิโอและศิลปะแสดงสด ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ในปี พ.ศ 2561และเทศกาล Taiwan International Video Art Exhibition ครั้งที่ 7 ณ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน ในปีพ.ศ2563 เป็นต้น ผลงานภาพยนตร์สั้นเรื่อง ‘PLANETARIUM’ หรือ ‘ท้องฟ้าจำลอง’ ของจุฬญาณนนท์ได้รับเกียรติในการจัดแสดงรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลคานส์ในปีพ.ศ 2561 ซึ่งเป็นหนึ่งในภาพยนตร์สั้นจากจำนวนทั้งหมด 4 เรื่องในภาพยนตร์เรื่อง 10 YEARS THAILAND ภาพยนตร์ชุด 4 เรื่อง ว่าด้วยเมืองไทยในอีก 10 ปีข้างหน้าตามจินตนาการของ 4 ผู้กำกับ ประกอบด้วย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, วิศิษฐ์ ศาสนเที่ยง, อาทิตย์ อัสสรัตน์ และ จุฬญานนท์ ศิริผล ปัจจุบันจุฬญาณนนท์พำนักอาศัยและทำงานอยู่ในกรุงเเทพมหานคร

ดินห์ คิว เล

เวียดนาม/สหรัฐอเมริกา

ศิลปิน

ดินห์ คิว เลย์ (Lê Quang Đỉnh ในภาษาเวียดนาม) คือศิลปินมัลติมีเดียชาวอเมริกันเชื้อสายเวียดนาม ที่โด่งดังจากผลงานภาพถ่ายและเทคนิคการ Photo-Weaving ในการนำภาพมาถักเรียงร้อยเรื่องราว โดยสงครามเวียดนามหรือที่เรียกว่า สงครามต่อต้านอเมริกาในประเทศเวียดนาม เป็นประเด็นสำคัญที่ศิลปินมักหยิบยกมาทำการสื่อสารผ่านผลงาน ทั้งยังหยิบนำกระบวนการจำ หรือ Methods of Memory 5 ถึงสงครามเวียดนามในอดีตของตน มาเชื่อมโยงกับความเป็นจริงในปัจจุบัน ผลงานที่โดดเด่นอื่นๆของ ดินห์ คิว เลย์ ประกอบด้วย ผลงานชุด From Hollywood to Vietnam ที่ ดินห์ ได้ทำการตั้งคำถามถึงความเชื่อมโยงของวัฒนธรรมประชานิยมหรือ Pop Culture กับความทรงจำของศิลปินถึงสงครามเวียดนาม ทั้งยังชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างถึงความจริงทางหน้าประวัติศาสตร์ กับภาพของสงครามที่ได้รับการถ่ายทอดและฉายซ้ำบนหน้าสื่อต่างๆ ดินห์ คิว เลย์ ได้รับการยกย่องจากนิตยสาร Wall Street Journal ในฐานะของศิลปินร่วมสมัยเชื้อสายเวียดนามที่โดดเด่นที่สุดในโลกในปีพ.ศ2562

จุน ยัง

ไต้หวัน/ออสเตรีย

จุน ยัง เป็นศิลปินที่พำนักในเวียนนา ไทเป และโยโกฮาม่า เขาร่วมแสดงนิทรรศการระดับนานาชาติ เช่น
ได้แก่ Biennial of Sydney 2018, Gwangju Biennale 2018 และ 2012; Taipei Biennial 2008, Liverpool Biennial 2006, Biennale di Venezia ครั้งที่ 51 ปี 2005 และ Manifesta 4 ในปี 2002

จุน ยัง ปิดท้ายการทำงานกับชุดนิทรรศการเดี่ยว/งานย้อนหลังที่เริ่มต้นที่ Art Sonje Center, Seoul (2018) ต่อที่ Kunsthaus Graz (2019) และจัดแสดงในไทเปที่ Kuandu Museum 2020, TKG+ Projects 2020/2021 และ MoCA Taipei 2021 (เป็นนิทรรศการเดียวในสามสถานที่ในเมืองเดียว)

หลังจากนั้น จุนตัดสินใจหยุดพักจากการจัดแสดงนิทรรศการ ด้วยความสนใจในสถาบันต่างๆ จุนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการของ Vienna Secession ในปี 2021 สำหรับโปรเจกต์ล่าสุดของเขา ได้แก่ การออกแบบร้านหนังสือ König ที่ Bundeskunsthalle Bonn และสร้างห้องครัวและห้องรับประทานอาหารสำหรับ Oskar Schlemmer Haus (Bauhaus Dessau) เป็นความสนใจในโครงสร้างสถาบันศิลปะ ขณะนี้เขาอยู่ในระหว่างการออกแบบและปรับปรุงร้าน Cockatoo Canteen ของหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน

ราฟาล มิลาช และ สปุตนิก โฟโต้ คอลเล็กทีฟ

โปแลนด์

ศิลปิน

ราฟาล มิลาช (เกิด: พ.ศ2521 , ประเทศโปแลนด์) ปัจจุบันพำนักอาศัยและทำงาน: วอร์ซอ, ประเทศโปแลนด์
ผลงานของราฟาล มิลาช ขุดคุ้ยในหลากหลายสาระหลักว่าด้วยประวัติศาสตร์และการแปรสภาพ โดยเน้นหนักในบริบทของอดีตประเทศในสหภาพโซเวียต ผ่านการใช้ผลงานทัศนศิลป์หลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพถ่าย ศิลปะเชิงแนวคิด หนังสือ วิดิโอและการคัดสรรผลงาน (Curation) ในยุคเเรกของผลงาน มิลาชใช้มุมมองการนำเสนอในรูปแบบสารคดีในการเข้าถึงประเด็น ทว่ามีการปรับแปลงรูปแบบการถ่ายทอดผลงานทัศนศิลป์ในช่วงหลัง ด้วยการน้อมนำวิธีการเชิงเเนวคิดเข้ามาปรับใช้
มิลาชเกิดในประเทศโปแลนด์เมื่อปีพ.ศ.2521 และเติบโตขึ้นในสภาพสังคมที่สั่นคลอน ระหว่างเหตุการณ์การล่มสลายของสหภาพโซเวียต มิลาชเริ่มต้นทำการศึกษาในสาขากราฟฟิกดีไซน์ ณ Academy of Fine Arts ในเมืองคาโตวีซ ประเทศโปแลนด์ ก่อนที่จะค้นพบความสนใจใน ‘การถ่ายภาพ’ มิลาชจึงเข้ารับการศึกษาด้านภาพถ่ายในสถาบัน ITF Institute of Creative Photography แห่งมหาวิทยาลัย Silesian University ในเมืองโอปาวา สาธารณรัฐเช็กที่ ๆเขาทำหน้าที่เป็นอาจารย์ประจำอยู่ในปัจจุบัน
ราฟาล มิลาชทำการแสดงผลงานในหลากหลายที่ทั่วโปแลนด์และนานาชาติ มีผลงานอยู่ในคอลเลคชันของ MoMA Warsaw, CCA Ujazdowski Castle ในวอร์ซอ, มูลนิธิ ING Polish Art Foundation, พิพิธภัณฑ์ Kiyosato Museum of Photographic Arts ในประเทศญี่ปุ่น และ Brandts ในเมือง Odense ประเทศเดนมาร์ก

ส้ม ศุภปริญญา

ไทย

ศิลปิน

ส้ม ศุภปริญญา เกิดปี พ.ศ. 2516 จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย ส้ม ศุภปริญญา เติบโตที่จังหวัดลําพูน ปัจจุบันอาศัยและทํางานที่จังหวัดเชียงใหม่ จบปริญญาตรีจาก สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเคยทํางานเป็นอาจารย์ประจําที่นั่น ได้รับ การศึกษาระดับ Meisterschulerin ด้านสื่อศิลปะจาก Hochschule für Grafik und Buchkunst เมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมนี เธอเป็นผู้บุกเบิกด้านการติดตั้งวิดีโอแบบหลายช่องสัญญาณ (4 ช่องสัญญาณใน ปี พ.ศ. 2538) และการซิงโครไนซ์วิดีโอ (พ.ศ. 2555) ในภูมิภาคของเธอ เธอสร้างงานศิลปะวิดีโอและเสียงชิ้นแรกของเธอในปี พ.ศ. 2538 ด้วยเครื่องบันทึกเทป Handycam Video 8 และกล้อง VHS แม้กระนั้นเธอสร้างผลงานทัศนศิลป์ที่หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ศิลปะติดตั้ง วัตถุที่สร้างและค้นพบ รวมทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งมักเป็นผลงานทดลองและสารคดี ทั้งได้แสดงผลงานสู่สาธารณะในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ผลงานของเธอกล่าวถึงหลายสถานการณ์ที่ได้เผชิญ โดยสัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคมและการเมือง ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่และภูมิศาสตร์ ไปจนถึง ใช้ความเป็นปัจเจกบุคคลประสบการณ์ตรง และการศึกษาวิจัย เป็นกรอบในการมองเพื่อสร้างผลงานศิลปะ เช่นเรื่องวัฒนธรรมก๋วยเตี๋ยว การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของแม่น้ เมือง เส้นทาง การผลิตกระแสไฟฟ้า รวมถึงพื้นที่ขบถ และ หนังสือต้องห้าม

นิทรรศการและศิลปินในสถานพํานักในปัจจุบัน: DC Collection of 21st Century Thai Contemporary Arts (DC Collection, เชียงใหม่, พ.ศ. 2565-2566), นิทรรศการทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้ง ที่ 22 (หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ, พ.ศ. 2566), reconnecting.earth (02) (Biennale de l’Art et de la Nature Urbaine) (เจนนิวา, สวิสเซอร์แลนด์, พ.ศ. 2566 และ Stadtgalerie Kiel, เยอรมันนี (พ.ศ. 2567), After Hope: Video of Resistance (Peabody Essex Museum, สหรัฐอเมริกา, พ.ศ. 2566). เธอได้เป็นศิลปินในสถานพํานักหนึ่งปีที่ DAAD Artists-in-Berlin Program (เบอร์ลิน, เยอรมนี, พ.ศ.2564-2565) และ Elevation Laos (เวียงจัน, สาธารณรัฐประชาชนลาว, พ.ศ. 2566-2567)

ทัศนัย เศรษฐสิริ

ไทย

ศิลปิน

ทัศนัย เศรษฐสิริ สำรวจซึ่งปฏิกิริยาที่มีร่วมกันระหว่างอำนาจ การชักจูงภายในของรัฐ และภาพเชิงพาณิชย์ โดยเน้นย้ำถึงประเด็นในสังคมของประเทศไทยเป็นหลัก ผลงานศิลปะปะติดหรือคอลลาจขนาดยักษ์ของทัศนัย โดดเด่นด้วยประติมานวิทยาที่แยบยล นำเทคนิคการตัดกระดาษแบบโบราณของไทยและกระดาษสีมาปะติดซ้อนกันหลายๆชั้นเป็นเลเยอร์ สีสันที่ฉูดฉาดและหลากหลายเฉดในผลงานของทัศนัยสะท้อนความเชื่อมโยงถึงภูมิปัญญาผ้าพื้นเมืองของล้านนา โดยเฉพาะผ้าซิ่น ที่มีการใช้ในโอกาสสำคัญต่างๆ ทั้งในพิธีกรรมทางศาสนา และงานเลี้ยง งานพิธีที่สำคัญ
หนึ่งในผลงานที่โด่งดังและตราตรึงใจผู้ชมของทัศนัย คือชุดผลงานที่เป็นภาพจำนวน 3 ชิ้น (Triptych) ขนาดใหญ่มหึมาชื่อว่า ‘It's unclearly clear, as yet incomplete’ ชื่อผลงานบอกใบ้สภาวะความเป็น ‘Work in Progress’ ใช้ระยะเวลาเป็นปีในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลล่วงหน้า ก่อนที่จะใช้เวลาอีกเกือบ 3 ปีในการสร้างสรรค์ผลงาน ใช้เทคนิคการปะติดกระดาษลงบนหน้าวัสดุ ทับซ้อนไปมาเป็นเลเยอร์หน้ากว่า 30-40 ชั้น ทั้งยังมีการนำวัสดุอื่นๆมาใช้ในผลงานอาทิ จีวรพระสงฆ์ หน้าข่าวจากหนังสือพิมพ์ และโพลียูรีเทน เป็นต้น มีการใช้กระดาษบางประเภทอย่างจำเพาะและเจาะจง เป็นผิววัสดุของ Triptych ในแต่ละส่วน เพื่อทำการเน้นย้ำถึง ‘ปัญหาเชิงโครงสร้าง’ ในบริบทโลกสมัยใหม่และโลกร่วมสมัยของประเทศไทย ทัศนัยใช้ทัศนศิลป์ของภาพและขนาดที่ใหญ่โตของผลงานเป็นกลไกในการล้อเลียนแนวทางที่รัฐใช้ ‘สุนทรียศาสตร์’ มาทำการบิดเบือนซึ่งปัญหาหรือความน่าอึดอัดใจบางประการในประเทศชาติ ให้ประชาชนเกิดความไขว้เขวและมองข้ามซึ่งอุปสรรคหรือความยากลำบากใดๆที่ดำรงอยู่ในสังคม

วัชรนนท์ สินวราวัฒน์

ไทย

ศิลปิน

วัชรนนท์สำรวจพื้นที่ที่เราดำรงอยู่ ว่ามันถูกวาดภาพจนกลายเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้อย่างไร เขามุ่งความสนใจไปที่ความตึงเครียดของการนำเสนอภาพแทน โดยสืบเสาะร่องรอยทางสุนทรียศาสตร์ระหว่างความเป็นจริงและจินตนาการของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วัชรนนท์เกิดในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เขาเติบโตขึ้นมาในช่วงเวลาที่ประเทศไทยมีความผันผวนทางการเมืองอย่างรุนแรง และมีการชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยหลายต่อหลายครั้งในสมัยที่เขายังเป็นนักศึกษา วัชรนนท์มีความสนใจมาโดยตลอดว่าเรื่องเล่ากระแสหลักสามารถมีบทบาทในการกำหนดความเชื่อและวิถีชีวิตของเราได้อย่างไร การใช้ชีวิตในสภาวะล้นเกินของข้อมูลข่าวสาร ทำให้วัชรนนท์หันมาทบทวนประวัติศาสตร์ของโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและการรังสรรค์ภาพ เขาเปลี่ยนความหมายของภาพทิวทัศน์ดั้งเดิม โดยฝังความสงสัยและตั้งคำถามที่ละเอียดอ่อนต่อภาพชนบทอันอุดมสมบูรณ์ ศิลปินพยายามท้าทายประวัติศาสตร์ทางการที่ว่าด้วยชนบทไทย โดยสะท้อนให้เห็นถึงการสร้างภาพมายาจากทางภาครัฐ ว่าแท้จริงแล้วเป็นสนามของการช่วงชิงพื้นที่ และการสร้างความสับสนอลหม่านกับกลุ่มคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามเย็น สุดท้ายนี้ วัชรนนท์เชื้อชวนให้ผู้ชมพิจารณาภาพและเรื่องเล่าที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดตัวตนของพวกเรา ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง พร้อมตั้งคำถามถึงพลังอำนาจที่เกิดจากการให้ความหมายและการนำเสนอภาพแทน

นาอีม โมไฮเมน

บังกลาเทศ/สหรัฐอเมริกา

ศิลปิน

นาอีม โมไฮเมนเป็นนักวิจัย ที่อาศัยทักษะในการศึกษาค้นคว้าวิจัยมาใช้ในการนำเสนอเป็นผลงานศิลปะ ประเภทภาพยนตร์ ศิลปะจัดวาง และการเขียนเรียงความในเรื่องแนวคิดการเมืองฝ่ายซ้าย ในยุคสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นาอีมค้นคว้าและเสาะหาซึ่งมรดกจากการปลดปล่อยอาณานิคม รวมถึงการลบทิ้ง และเขียนหน้าประวัติศาสตร์ขึ้นใหม่จากความทรงจำของภาพยูโทเปียทางการเมือง ศิลปินนำเอกสารประเภทอัตชีวประวัติและประวัติศาสตร์ครอบครัวมาใช้เป็นเครื่องมือหลัก ในการตั้งคำถามว่า ‘เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศและพาสปอร์ตมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศที่สภาวะทางสังคมและการเมืองระส่ำระส่ายได้อย่างไรบ้าง’ การเก็บบันทึกภาพยนตร์ และกระบวนการทำให้สูญหาย ปลอมแปลง หรือฟื้นฟูซึ่งเนื้อหาภายในภาพยนตร์ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ศิลปินมักเลือกใช้ในผลงาน โดยจุดมุ่งหมายเบื้องหลังทุกๆผลงานของนาฮีม คือความหวังถึงกลุ่มฝ่ายซ้ายระหว่างประเทศที่แท้จริง หาใช่เพียงการรวมกลุ่มพันธมิตรเพราะมีเชื้อชาติและศาสนาที่เหมือนกัน ซึ่งความฝันที่ตั้งนี้ที่บ่มเพาะและกล่อมเกลาเกิดเป็นผลงานของเขานั้น นาฮีมยังมองว่าในปัจจุบัน ‘ยังไม่เกิดขึ้นจริง’

ไฮเฟน- โดย เกรซ ซัมโบฮ์ ร่วมด้วย อันดรี เซเตียวาน และ ราเชล เค สุริจาตะ

อินโดนีเซีย

ศิลปิน

ริเริ่มร่วมกันในปี 2554 โดย Ratna Mufida, Pitra Hutomo และ เกรซ ซัมโบฮ์
ประเทศอินโดนีเซีย

ไฮเฟน— ทำหน้าที่เป็นพื้นที่สนทนาอย่างยั่งยืนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางสุนทรียศาสตร์ ไม่นานหลังจากนั้น พื้นที่นี้ได้ขยายออกไปผ่านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศิลปะต่างๆ ตั้งแต่การจัดนิทรรศการ สื่อสิ่งพิมพิ์ในรูปแบบต่างๆ การคลังข้อมูล การวิจัย การสนทนาแบบเปิด การร้องคาราโอเกะ การปิ้งบาร์บีคิว งานเลี้ยง และอื่นๆ ไฮเฟน— มุ่งเน้นไปที่ความอยากรู้อยากเห็นและความเป็นอยู่ร่วมกันของผู้คนในฐานะจุดบรรจบของการปฏิบัติทางศิลปะ พวกเขาได้รับการเข้าร่วมจาก Akmalia Rizqita “Chita” และ ราเชล เค สุริจาตะ (ในปี 2020) รวมถึง Ruhaeni Intan และ อันดรี เซเตียวาน (ในปี 2023)

ปัจจุบัน พวกเขากำลังทดลองสำรวจแนวปฏิบัติของขบวนการศิลปะใหม่ของอินโดนีเซีย (1975-1989) ศิลปิน Kustiyah (1935-2012) และ Danarto (1940-2018) รวมถึงประวัติศาสตร์นิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับ Kesenian Indonesia (ศิลปะอินโดนีเซีย, 1955), BINAL Experimental Arts (1992), Contemporary Art Exhibition of the Non-Aligned Countries (1995) พร้อมทั้งพยายามคลี่คลายประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซียที่ถูกขนานนามว่าเป็น "ประวัติศาสตร์แห่งชาติ" ผ่านตัวแทนภาพวิสัยทัศน์ต่างๆ

คีต์ตา อิสรั่น

ไทย

ศิลปิน

คีต์ตา อิสรั่น ภัณฑารักษ์และผู้ก่อตั้ง Muslimah Collective กลุ่มศิลปินหญิงหน้าใหม่ในจังหวัดนราธิวาส คีต์ตาเกิดที่กรุงเทพฯ เติบโตในชุมชนมุสลิมในกรุงเทพฯ เรียกว่า “ชุมชนบ้านครัว” ต่อมาครอบครัวของเธอย้ายไปทางใต้ของประเทศไทย หลังจากนั้นเธอก็ไปเรียนที่ The Art Student League of New York ประเทศสหรัฐอเมริกา คีต์ตายังได้เข้าร่วมนิทรรศการกลุ่มจัดแสดงผลงานประติมากรรมไม้ของเธอสำหรับการสำเร็จการศึกษาอีกด้วย
คีต์ตาเป็นศิลปินหญิงที่โดดเด่นซึ่งนำเสนอภาพมุสลิมและประเพณีทางวัฒนธรรมในงานศิลปะของเธอ เธอผสมผสานประสบการณ์ ความทรงจำ และสภาพแวดล้อมเข้ากับงานศิลปะของเธอ ผลงานของเธอสะท้อนความรู้สึกของผู้หญิงมุสลิมผ่านรูปแบบ การแสดงออกทางสีหน้า และท่าทางที่มีความหมาย คีต์ตาได้รับเลือกให้แสดงผลงานศิลปะของเธอในพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์หลายแห่ง “So Hope” เป็นนิทรรศการเดี่ยวของเธอที่หอศิลป์แห่งชาติ นอกจากนี้ผลงานของเธอยังได้รับรางวัลมากมาย เช่น เหรียญทองและเหรียญเงินจากการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง เหรียญทองแดง (จิตรกรรม) นิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 58
คีต์ตาได้รับเลือกให้เป็นศิลปินหญิงรุ่นใหม่ของประเทศไทยในนามไทยแลนด์อาย นอกจากนี้ เธอยังเป็นหนึ่งใน 101 ศิลปินที่โดดเด่นที่สุดของประเทศไทยในปี 2560 เธอได้จัดแสดง “Patani Semasa” ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย MAIIAM เชียงใหม่ และ Ilham Gallery กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ในปี 2561 นอกจากนี้ เธอยังได้รับเชิญให้เป็นส่วนหนึ่งของ Bangkok Art Biennale ซึ่งเป็นตัวแทนของ Muslimah Collective และศิลปินจากภาคใต้ มีภาพวาด ภาพพิมพ์บนวัตถุและสื่อผสม เป็นชุดบันทึกความทรงจำของเธอ งานศิลปะของเธอประกอบด้วยวิธีการและรูปแบบการแสดงออกที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม เธอแสดงเรื่องราวและความรู้สึกส่วนตัวทั้งหมดออกมาเป็นการตีความเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งผู้ชมได้รับการสนับสนุนให้เชื่อมโยงกับผลงานที่จงใจของเธอ

ประทีป สุธาทองไทย

ไทย

ศิลปิน

ประทีป สุธาทองไทย เกิดและโตในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากคณะวิจิตรศิลป์ สาขาจิตรกรรม จากมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยทำงานในฐานะอาจารย์ประจำในภาควิชาวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ประทีปปรับนำเทคนิคในการทำงานภาพถ่ายมาใช้ เขานำฟิล์มถ่ายภาพแต่ละเส้นมาใช้เป็นสื่อนำเสนอ โดยผลงานชุดนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากศาสนวัตถุและศาสนสถาน ซึ่งในเวลาถัดมา ประทีปได้มีการประยุกต์ ขยายขนาดของผลงานศิลปะจัดวางภาพถ่ายขนาดใหญ่แบบจำกัดพื้นที่ การโยกย้ายจากกรุงเทพฯ มาพำนักอาศัยที่มหาสารคาม ปลุกความสนใจในประเด็นทางประวัติศาสตร์ที่ไม่ลงรอย ระหว่างประวัติศาสตร์ชาติกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในภาคอีสาน การเมืองในการสร้างภาพ ภูมิปัญญาความรู้ และความทรงจำผลงานของเขาในนิทรรศการ A Little Rich Country ที่ 100 ต้นสน แกลเลอรี เป็นผลงานที่ประทีปหวนกลับไปทำงานจิตรกรรมอีกครั้ง ในการวาดภาพปกหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ขนาดเท่าจริง ที่มีอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชวนให้ผู้ชมได้เพ่งมอง ถึงการสร้างซึ่งโฆษณาชวนเชื่อ และความทรงจำร่วมที่รัฐอยากให้สังคมไทยจดจำ

ประทีปมีการจัดแสดงผลงานอีกหลายครั้ง ที่ 100 ต้นสน แกลเลอรีในกรุงเทพมหานคร ทั้งยังเข้าร่วม เทศกาลศิลปะระดับนานาชาติอีกมากมาย อาทิ เทศกาล Busan Biennale 2008, เทศกาลภาพถ่าย Singapore International Photography Festival (2010), เทศกาล Singapore Biennale (Singapore Art Museum, 2556) ในประเทศสิงคโปร์ , เทศกาล Moscow International Biennale for Young Art, Moscow (2557), เทศกาล inToAsia: Time-based Art Festival 2015 ที่จัดขึ้น ณ พิพิธภัณฑ์ Queens Museum, นิวยอร์ก (2558) ทั้งยังเข้าร่วมกับ Khonkaen Manifesto ในปี 2561 (ณ ตึก GF Building), จังหวัดขอนแก่น (2561) เทศกาล Bangkok Art Biennale 2020 (The Prelude – One Bangkok) ที่จัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ในปีพ.ศ. 2563

Organized by
suportted by
media partner
Public Program Supportor