Exhibitions / Jim Thompson Art Center
EN TH2012-2555, 2556, 2557
Korakrit Arunanondchai
หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ภูมิใจเสนอนิทรรศการ 2012-2555,2556,2557 ผลงานวีดีโอจัดวาง โดย กรกฤต อรุณานนท์ชัย ศิลปินไทยที่อาศัยอยู่ในนิวยอร์ค เป็นที่จับตามองในโลกศิลปะ เป็นคนรุ่นใหม่ที่ใช้สื่อการทำงาน แบบหลากหลาย และกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังในระดับนานาชาติ นิทรรศการครั้งนี้นับเป็นการแสดงผลงานเดี่ยวครั้ง แรกของกรกฤตในประเทศไทย หลังจากการแสดงเดี่ยวในปี ค.ศ. 2014 ที่ MoMA P.S.1 นิวยอร์ค ประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถาบันศิลปะร่วมสมัยที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และ Palais de Tokyo พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย ประจำกรุงปารีส และ UCCA Ullens Center for Contemporary Art, ปักกิ่ง, ประเทศ จีน
เขาสังเคราะห์ข้อมูลหลายๆ ส่วนจากประสบการณ์ส่วนตัวที่อยู่ทั้งสองส่งของโลก คือโลกตะวันตกและ ตะวันออก เทคโนโลยี (โลกอินเตอร์เน็ต และโซเชียลมีเดีย) รวมทั้งวัฒนธรรมบีอบศัลเจอร์ ศาสนาพุทธ และลัทธิ บูชาผี ด้วยการใช้เทคนิคและสื่อหลากหลาย เช่น จิตรกรรม การแสดงสด และ งานวีดีโอ ที่ตั้งคำถามต่อความเป็น ศิลปะ ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับชีวิต ความจริงและเรื่องแต่งรวมทั้งวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมกับอนาคตของเรา
กรกฤตเชื่อว่ายีนส์เป็นวัสดุที่มีความเป็นสากลเป็นผ้าสวมใส่ที่แพร่หลายในทั่วโลกศิลปินทำงานจิตรกรรม โดยใช้ผ้ายีนส์ที่มีการฟอกขาวและเริ่มด้นจากการจุดไฟเผา ในการเผาไหม้เปรียบเสมือนการเปลี่ยนแปลงวัตถุไป
เป็นงานจิตรกรรมเขาเริ่มทำงานด้วยเดอร์นิม (ผ้ายีนส์) และเรียกตัวเองว่าเป็นจิตรกรที่ทำงานเดอร์นิม (denim painter) จากความคิดที่ว่า "หากผ้าใบ(canvas) ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากโลกตะวันตก เป็นรากฐานของประวัติศาสตร์ ของการสร้างงานจิตรกรรม ผ้ายีนส์ก็เป็นประวัติศาสตร์ที่ขนานกับโลกาภิวัฒน์ แรงงาน และอิทธิพลของตะวันตก ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง บางทีเรื่องเล่าของจิตรกรที่ทำงานกับยีนส์ ก็อาจทำให้ยีนส์กลายเป็นรากฐานประวัติศาสตร์ของเขาด้วยเช่นกัน” ในช่วงเวลา 4 ปีที่ โครงการนี้ได้เติบโตขึ้น งานจิตรกรรมผ้ายืนส์นั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปกับ คาแรคเตอร์ (Character) ของตัวศิลปินในวิดีโอ ราวกับว่าเป็นการเติบโตเพื่อค้นหาตัวเองของมนุษย์ทั่วไป เนื้อหา ในผลงานของกรกฤตมักจะเป็นการเชื่อมต่อทางอารมณ์ (Emotional Connection) ที่มองเวลาไม่เป็นเส้นตรง และ เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์และทุกๆสิ่งในจักรวาลนี้โดยได้มีการดึงประเด็นต่างๆในโลก
ปัจจุบัน อาทิเช่น ข่าวจากสื่อโทรทัศน์และโซเซียลมีเดียสอดขึ้นมาระหว่างการเล่าเรื่องที่ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ ล้วนเกิดขึ้นจากความสนใจในทฤษฏีต่างๆ แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อหาความหมายในแบบของตัวเอง ไม่เพียงแต่การ สร้างงานศิลปะที่อยู่ตรงกลาง แต่ความต้องการของเขาคือ การสร้างสถานะระหว่างกลางทางจิตใจ ด้วยการคิด การ ไตร่ตรอง และการเชื่อ โดยก้าวข้ามทัศนคติด้านลบด้านใดด้านหนึ่งที่เคยมีในจิตใจไปสู่การสร้างทัศนคติใหม่ๆ
The trilogy 2012-2555, 2556, 2557 is a series of three videos, which are selected from four related performances and videos in a three-year production from 2012 to 2014. The year in which the artist made the artworks gives the work its title, but is expressed in the Buddhist Era (B.E.): 2555 for 2012, 2556 for 2013 and 2557 for 2014 respectively. In his naming concept, Korakrit plays with time through Buddhism and Christianity. A parallel between the Eastern culture and the Western is a central theme of the show – that is to say the artist’s reflections on globalization and the Internet.
2012-2555 (2012) is a collection of Korakrit’s experiences and served as the starting point for his inspiration to make this trilogy as a collection of his memories in Thailand and the States. Those memories with Korakrit’s family, friends and at work his personal remarks on growing up in both cultures. The exhibition is also a reflection of his passion for denim and painting. He likes to document with a digital video recorder. His approach to the concept of painting is based on his syncretism whereas his interrogation without bias brings about new dialogue such as through the denim intervention. As both denim and the painting canvas are made from cotton, Korakrit deploys denim in the same way that other artists perceive the white canvas. This underlines an alternative way of understanding what art means from Korakrit’s perspective.
งาน 2012-2555,2556,2557 เป็นผลงานวิดีโอจัดวาง (Video Installation) 3 ใน 4 ภาค ของผลงาน ศิลปะการแสดงสดและวิดีโอที่ใช้เวลาในการผลิต 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2557 ผลงานแต่ละภาคตั้งชื่อตามปีที่ ผลิตผลงาน (เป็นการเล่นเรื่องเวลา ของปฏิทินแบบพุทธและตะวันตก) และจะมีช่วงเวลาในการผลิตแต่ละขึ้นห่าง กันประมาณหนึ่งปี เป็นการนำเสนอพื้นที่ตรงกลางระหว่างวัฒนธรรมสองขั้วทั้งส่งตะวันออกและส่งตะวันตกที่ศิลปินมีสถานะเกี่ยวข้องด้วยท่ามกลางยุคสมัยโลกาภิวัฒน์ที่มีการเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ในผลงานชุด 2012-2555 เป็นการรวมประสบการณ์ชีวิตของศิลปิน หลายๆส่วน ที่มีความซับซ้อน และ หลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งครอบครัว การทำงาน เพื่อน และการใช้ชีวิตระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ผลงานจึงสะท้อนลักษณะเฉพาะของตัวศิลปินที่เติบโตมาในวัฒนธรรมที่ผสมปนเป ที่มีความลุ่มหลงในแฟชั่นยืนส์ และปรารถนาจะเป็นจิตรกร ความชื่นชอบในการบันทึกภาพด้วยอุปกรณ์ดิจิตอล รวมไปถึงการตั้งคำถามต่อการ ดีความเชิงพุทธศาสนาในประเทศไทยท่ามกลางบริบทโลก ความเป็นวิทยาศาสตร์และลัทธินับถือผี ทุกอย่างถูก ร้อยเรียงเป็นความสัมพันธ์ที่ต้องการจะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ อีกหลายสิ่งเข้าไว้ด้วยกัน ความชื่นชอบเกี่ยวกับผ้ายืนส์ ผนวกกับความต้องการที่จะเป็นศิลปินงานจิตรกรรม จึงเป็นจุดเริ่มด้นที่ผลักดันให้กรกฤตเชื่อมต่อประวัติศาสตร์ ศิลปะขึ้นมาใหม่ในแบบฉบับของตนเอง
ผลงานขึ้นที่สอง 2556, เป็นการตั้งคำถามต่อความหมายของศิลปะและการตระหนักรู้ถึงความเป็นตัวตน ของเขา โดยศิลปินได้ดึงเอาโควตของ อ.ศิลป็ พีระศรี จากหน้าเฟซบุค และคลิปวิดีโอการแสดงบอดี้ เพนท้ติ้ง ของ ดวงใจ จันทร์สระน้อย จากรายการไทยแลนด์ ก็อตทาเล้นท้ ซึ่งเป็นคลิปอื้อฉาว ที่ต่อมาได้นำไปสู่การสนทนาของ ศิลปิน เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ที่ออกมาให้สัมภาษณ์พิธีกรชื่อดังต่อความหมายของศิลปะ และ งาน 2557
(Painting with history in a room filled with men funny names 2) กรกฤตทำลายพีนทีสองฃัว คือตะวันออก และตะวันตก โลกของความเป็นศิลปะขั้นสูง และ ขั้นตํ่า โลกทางโลกและทางธรรม รวมทั้งตั้งคำถามต่อความหมาย ของความเป็นจริงแท้ของประสบการณ์ (authentic experience) และการที่อยู่เหนือความเข้าใจ (transcendent) ที่อยู่บนฐานของความอลังการณ์ โดยนำเสนอการเดินทางของศิลปินและฝาแฝดของเขา กรพ้ฒน์ ไปสู่เส้นทาง ระหว่างวัฒนธรรมบีอบปูส่าร์ และจิตวิญญาณ โดยใช้การไปเที่ยววัดร่องขุ่น เชียงราย เป็นตัวเดินเรื่อง ศิลปินถ่าย ทำงานชิ้นนี้เหมือนมิวสิค วิดีโอ และนำเอาผลงานปีก่อน ประกอบด้วยบอดี้ เพนท์ติ้งเข้าไปอยู่ในงานอีกด้วย เขาตั้ง คำถามว่าหากพุทธศาสนาเปรียบเป็นจิตใต้สำนึกของเมืองไทย และ อุตสาหกรรมทางเพศเปรียบเหมือนกับจิตไร้ สำนึก หากจะนำเอาสำนึกทั้งสองส่วนมาเจอกันโดยใช้ผลงานจิตรกรรมเป็นพื้นที่ตรงกลางจะได้หรือไม่ นอกจาก งานผลงานชุดไตรภาคแล้ว กรกฤต ยังแสดงผลงานวิดีโอที่สร้างชิ้นระหว่างชิ้น 2556 และ 2557 Painting with history in a room filled with men funny names 1 เป็นสมมุติฐานห้องๆ หนึ่งที่อยู่ตรงกลางระหว่างห้องสอง ห้อง ในห้องแรกศิลปินและเพื่อนๆของเขาที่กำลังนั่งสูบบุหรี่ และพูดคุยกันถึงเรื่องชีวิตกับอีกห้องหนึ่งซึ่งเป็นห้อง แห่งประวัติศาสตร์ของ Abstract Painting ที่เต็มไปด้วยผู้ชายที่ส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาว จุดเริ่มด้นของวิดีโอชิ้นนี้ คือ บทสนทนาระหว่างศิลปินกับอาจารย์ฝ่ายปกครองในโรงเรียนมัธยมที่ศิลปินศึกษา
กรกฤต อรุณานนท์ชัย
พ.ศ. 2529, กรุงเทพฯ
ศิลปิน
กรกฤต อรุณานนท์ชัย เกิดปี 2529 ที่กรุงเทพฯ หลังจาก กรกฤต จบการศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริส เตียนวิทยาลัย และโรงเรียนนานาชาติ ในกรุงเทพ ปี พ.ศ.2548เขาไดไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา ที่สถาบันศิลปะ และการออกแบบ โรด ไอส์แลนด์ และมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ผลงานศิลปะของกรกฤตที่ผ่านมามีดังต่อไปนี้ นิทรรศการเดี่ยว (It’s Always the Same) CLEARING บรัสเซลล์ เบลเยี่ยม (2556), และ Painting with history in a room filled with men with funny names, CLEARING นิวยอร์ก สหรัฐ (2556) และ Performance at the Museum, Museum of Modern Art in Warsaw, Warsaw, PL2557 (Painting with History in a Room Filled with Men with Funny Names 2) (with KorapatArunanondchai), Carlos/lshikawa ลอนดอน ประเทศอังกฤษ (2557) และ Letters to Chantri #1: The I ady at the door/The gift that keeps on giving (with Boychild), The Mistake Room, ลอสแอนเจลิส สหรัฐ (2557) และ KorakritArunanondchai, MoMAP.S.l นิวยอร์ก สหรัฐ (2557) Korakrit Arunanondchai : Painting with history in a room filled with people with funny names 3, Palais de Tokyo, Paris (2558), Korakrit Arunanondchai: 2558., Ullens Center for Contemporary Art (UCCA) Peking, PRC (2558) ผลงาน นิทรรศการกลุ่ม Double Life, Sculpture Center, นิวยอร์ก สหรัฐ (2555) และ Columbia MFA Thesis Exhibition, Fisher Landau Center for Art นิวยอร์ก สหรัฐ (2555) และ Digital Expressionism, The Suzanne Geiss Company นิวยอร์ก สหรัฐ (2556) และ Memonikos, Jim Thompson House กรุงเทพฯ ไทย (2556) และ Beware Wet Paint, ICA ลอนดอน อังกฤษ (2557) และ Beware Wet Paint, Fondazione SandrettoRe Rebaudengo ตูริน อิตาลี (2557)